Ford+ Innovator Scholarship 2021 เวทีประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์เสริมแกร่งนวัตกรรุ่นใหม่ หัวข้อนวัตกรรมพลังบวกเพื่อโลกที่น่าอยู่(Plus For ABetter World Challenge)

Ford+ Innovator Scholarship 2021 เวทีประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์เสริมแกร่งนวัตกรรุ่นใหม่ หัวข้อนวัตกรรมพลังบวก เพื่อโลกที่น่าอยู่(Plus For ABetter World Challenge) ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา

5,712 views
 


Ford+ Innovator Scholarship 2021
เวทีประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์เสริมแกร่งนวัตกรรุ่นใหม่
หัวข้อนวัตกรรมพลังบวกเพื่อโลกที่น่าอยู่(Plus For ABetter World Challenge)
ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา

ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน(PDA)
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
จัดทาโครงการ Ford+ Innovator Scholarship 2021
เวทีประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์เสริมแกร่งนวัตกรรุ่นใหม่
ในหัวข้อนวัตกรรมพลังบวกเพื่อโลกที่น่าอยู่ (Plus For ABetter World Challenge)
โครงการFord+ Innovator Scholarship 2021
เป็นการต่อยอดกิจกรรม Go Further Innovator Scholarship
ที่ฟอร์ดและพันธมิตรโครงการได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องมาเป็นเวลา 6 ปี
เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
ที่ โดยในปีนี้ ฟอร์ดและพันธมิตรโครงการเล็งเห็นว่า
นวัตกรรมมีบทบาทในการขับเคลื่อนวิถีชีวิตของทุกคน
ทั้งในด้านการดาเนินชีวิต การดูแลสุขภาพ และความปลอดภัย
จึงได้ขยายขอบเขตโครงการ Ford+ Innovator Scholarship 2021
ให้ครอบคลุมนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตได้มากยิ่งขึ้นโดยมี 3 หัวข้อหลัก
ได้แก่ นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยและภัยพิบัติ
และนวัตกรรมเพื่ออาชีพและธุรกิจ Start Up
เปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ
ได้มีเวทีแสดงผลงานนาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ประสบการณ์
นำมาพัฒนาเป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์และสามารถต่อยอดนามาพัฒนา
เป็นนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทยต่อไป


วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อสะท้อนบทบาทของฟอร์ด ประเทศไทยที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเยาวชนไทย
ให้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยี
2.สนับสนุนเยาวชนไทยให้มีเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์สร้างประสบการณ์
และนาความรู้มาใช้เกิดเป็น ผลงานที่เป็นรูปธรรม
3. เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้นักเรียน นักศึกษา
ได้นาไปต่อยอดผลงานโครงงานสิ่งประดิษฐ์ของ เพื่อให้นามาใช้ได้จริง


กลุ่มเป้าหมายโครงการ
1. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด
- นักเรียนระดับอาชีวศึกษาทั่วประเทศ
- นิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี ทั่วประเทศ
2. กลุ่มเป้าหมายการสื่อสาร / โครงการ
- ประชาชนทั่วไป

กติกาการเข้าร่วมกิจกรรมประกวด
1. กาลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีจากทั่วประเทศ
2. สามารถส่งผลงานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบทีมทีมละไม่เกิน 5 คน
3. โครงงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดูแลและลงนามรับรองยืนยันลิขสิทธิ์
4. ต้องเป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่หรือมีการประยุกต์ต่อยอด
และเป็นโครงงานที่สามารถมองเห็นการพัฒนาให้เป็นจริงได้ตอบโจทย์หัวข้อ
และต้องไม่ซ้ากับผลงานที่ได้รางวัลในปีที่ผ่านมา
5. ผู้ส่งผลงานสามารถดาวน์โหลดใบสมัครFord+ Innovator Scholarship 2021 ผ่านช่องทาง
Facebook:ฟอร์ด
Facebook:TVBurabhaทีวีบูรพา
Facebook:สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน – PDA
6. ส่งใบสมัครพร้อมเอกสารโครงงานสิ่งประดิษฐ์
(ที่ได้รับการตรวจสอบและการลงนามรับรองจากอาจารยที่ปรึกษาของทีมแล้ว) มาทางไปรษณีย์ที่
บริษัททีวีบูรพาจากัดเลขที่ 246/8 ซอยโยธินพัฒนาแขวงคลองจั่นเขตบางกะปิ
กรุงเทพฯ 10240
วงเล็บมุมซอง (Ford+ Innovator Scholarship 2021)
- พร้อมส่งไฟล์ข้อมูลสารองมาที่pitchaya@tvburabha.com
- เปิดรับเอกสารโครงงานตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน - 31 ตุลาคม 2564
(ยึดตามตราประทับไปรษณีย์)

6. ขั้นตอนการคัดเลือกผลงาน
รอบคัดเลือก
- คณะอนุกรรมการตรวจพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีความน่าสนใจ
และตรงตามหัวข้อที่กาหนด
รอบคัดเลือก ครั้งที่ 2
- คณะกรรมการคัดเลือกผลงานเข้ารอบสุดท้าย 10 ผลงาน
โดยแบ่งเป็นระดับอาชีวศึกษา 5 โครงงาน และระดับอุดมศึกษา 5 โครงงาน
ประกาศผลผู้เข้ารอบวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ทางช่องทาง
Facebook:ฟอร์ด
Facebook:TVBurabhaทีวีบูรพา
Facebook:สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน – PDA
ประกาศผลผู้เข้ารอบวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ทางช่องทาง
Facebook:ฟอร์ด
Facebook:TVBurabhaทีวีบูรพา
Facebook:สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน – PDA
***โครงงานที่ได้รับคัดเลือกต้องติดต่อกลับผู้ประสานงานโครงการฯ
เพื่อยืนยันสิทธิ์และยืนยันการร่วมส่งโครงงานสิ่งประดิษฐ์ภายในเวลา 3 วัน
นับจากวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ***
(ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)

7. โครงงานที่ผ่านการพิจารณารอบคัดเลือก 10 ทีม
ต้องเตรียมงานนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อตัดสินรางวัลชนะเลิศ
ในรูปแบบที่ตนถนัดและมั่นใจว่าจะพิชิตใจกรรมการได้การนำเสนอ
สามารถทำได้ในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์วีดีโอสาธิตการแสดงการพูดประกอบ Presentation
พร้อมเตรียมข้อมูลในเชิงแนวคิดทฤษฎีและวิธีการพัฒนา
ให้ชัดเจนและเห็นแนวโน้มในการต่อยอดโครงงานให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ได้จริง
8. ผู้ส่งโครงงานต้องร่วมกิจกรรมนาเสนอโครงงาน (Pitching) ต่อหน้าคณะกรรมการ
พิจารณาเพื่อตัดสินหาผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา
กำหนดวันนำเสนอโครงงานสิ่งประดิษฐ์ ( Pitch Day) เพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษาภายใน

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม2564 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น.
ณ ห้อง Audutorium อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3
วัน เวลา และสถานที่
อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของสถานการณ์โรคระบาดโควิด -19
9. ติดตามความเคลื่อนไหวรายละเอียดโครงการและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.tvburabha.comและwww.pda.or.thและ
Facebook:ฟอร์ด
Facebook:TVBurabhaทีวีบูรพา
หรือFacebook:สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน – PDA
โทรศัพท์0-2158-6122 ต่อ 624โทรสาร0-2158-6141
 
ทุนการศึกษาสำหรับผู้ร่วมส่งโครงงานเข้าประกวดจำนวน 20 ทุน รวม 840,000 บาท
1.1ระดับอาชีวศึกษาจำนวน 10 ทุน
- รางวัลชนะเลิศ 2 ทุน (สำหรับทีมนักศึกษาและ สาหรับสถาบันการศึกษา)
สำหรับทีมนักศึกษา: 1 ทุนการศึกษามูลค่า 100,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
สำหรับสถาบันการศึกษา (สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล)
: 1 ทุนพัฒนาโครงงานมูลค่า 50,000 บาท
รวมเป็นเงิน 150,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 2 ทุน
(สำหรับทีมนักศึกษา และสำหรับสถาบันการศึกษา)
สำหรับทีมนักศึกษา: 1 ทุนการศึกษามูลค่า 80,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร
สำหรับสถาบันการศึกษา (สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล)
: 1 ทุนพัฒนาโครงงานมูลค่า 40,000 บาท
รวมเป็นเงิน 120,000 บาท
-รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 2 ทุน
(สำหรับทีมนักศึกษาและสำหรับสถาบันการศึกษา)
สำหรับทีมนักศึกษา : 1 ทุนการศึกษามูลค่า 50,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร
สำหรับสถาบันการศึกษา (สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล)
: 1 ทุนพัฒนาโครงงานมูลค่า 25,000 บาท
รวมเป็นเงิน 75,000บาท
- รางวัลชมเชยจำนวน 4 ทุน
(สำหรับทีมนักศึกษา 2 ทุนและ สำหรับสถาบันการศึกษา 2 ทุน)
สำหรับทีมนักศึกษา : 2 ทุนการศึกษาทุนละ 25,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร
สำหรับสถาบันการศึกษา (สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล)
: 2 ทุนพัฒนาโครงงานทุนละ 12,500 บาท
รวมเป็นเงิน 75,000บาท
 
1.2 ระดับอุดมศึกษาจำนวน 10 ทุน
รางวัลชนะเลิศ 2 ทุน(สำหรับทีมนักศึกษาและ สำหรับสถาบันการศึกษา )
สำหรับทีมนักศึกษา: 1 ทุนการศึกษามูลค่า 100,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
สำหรับสถาบันการศึกษา (สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล)
: 1 ทุนพัฒนาโครงงานมูลค่า 50,000 บาท
รวมเป็นเงิน 150,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 2 ทุน
( สำหรับทีมนักศึกษาและ สำหรับสถาบันการศึกษา )
สำหรับทีมนักศึกษา : 1 ทุนการศึกษามูลค่า 80,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร
สำหรับสถาบันการศึกษา (สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล)
: 1 ทุนพัฒนาโครงงานมูลค่า40,000 บาท
รวมเป็นเงิน 120,000บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 2 ทุนสำหรับทีมนักศึกษาและ สำหรับสถาบันการศึกษา
สำหรับทีมนักศึกษา: 1 ทุนการศึกษามูลค่า 50,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชยจำนวน4ทุน(สำหรับทีมนักศึกษา 2 ทุน และ สำหรับสถาบันการศึกษา 2 ทุน)
สำหรับทีมนักศึกษา : 2 ทุนการศึกษาทุนละ 25,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร
สำหรับสถาบันการศึกษา (สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล)
: 2 ทุนพัฒนาโครงงานทุนละ 12,500 บาท
รวมเป็นเงิน 75,000บาท

ขั้นตอนการคัดเลือก
1. คณะอนุกรรมการคัดเลือกโครงงานจากเอกสารนาเสนอตามข้อกาหนด
- เอกสารต้องแสดงให้เห็นแนวคิดไอเดียวัตถุประสงค์เป้าหมาย
และวิธีการสื่อสารให้เข้าใจได้ชัดเจน
- พิจารณาแนวคิดไอเดียหลักการและเหตุผลที่มีแนวโน้มในการพัฒนา
เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ได้จริง
2.คณะกรรมการคัดเลือกโครงงานเข้ารอบสุดท้าย 10 โครงงาน
3. คณะกรรมการตัดสินรางวัลจากการนาเสนอ (Pitching)
โดยเจ้าของโครงงานจานวน 10 โครงงาน


เกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการ
1.นาเสนอแนวคิดนวัตกรรมตามประเภทดังนี้
- นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ
- นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยและภัยพิบัติ
- นวัตกรรมเพื่ออาชีพและธุรกิจ Start Up
2. นำเสนอแนวคิดน่าสนใจและเป็นแนวคิดเริ่มต้นจากตัวผู้เข้าแข่งขันเอง
3.มีแนวโน้มการต่อยอดพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่นามาแก้ปัญหาได้จริง
4. สามารถนำเสนอแนวคิดวัตถุประสงค์เป้าหมายวิธีการ
พร้อมภาพจำลองให้เข้าใจอย่างชัดเจนกระชับ


แนวทางการพิจารณาคะแนน
รอบที่1 รอบโครงงาน
1.แนวคิดความคิดสร้างสรรค์โอกาสพัฒนาผลงานต่อ
2.ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา / ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- ตรงตามโจทย์สามารถแก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต
-ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- นำเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมให้สิ่งประดิษฐ์มีความอัจฉริยะ
รอบที่2 การนำเสนอ
1.แนวคิด ความคิดสร้างสรรค์ วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2. วิธีการนำเสนอที่ชัดเจน สื่อสารได้ตรงจุด
3. มีแนวโน้มการต่อยอดพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาแก้ปัญหาได้จริง
 
สอบถามเพิ่มเติม คุณพิชญา จงวัฒนาพรชัย (จอย)
โทรศัพท์ 0-2158-6122 ต่อ 624, มือถือ 089-479-6214
โทรสาร 0-2158-6141 Email: pitchaya@tvburabha.com
**หมายเหตุ:รายละเอียดโครงการขอบข่ายการดาเนินงาน
และกาหนดการจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


ข่าวอื่นๆ