views

“พระโกศไม้จันทน์” ๑ ในองค์ประกอบสำคัญของงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙  
“พระโกศ” เป็นภาชนะเครื่องทรงสูง มีรูปทรงกรวยยอดปลายแหลมใช้บรรจุพระศพ หรือพระบรมศพ ตามโบราณราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล  ปรากฏหลักฐานชัดเจนที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระโกศนั้นก็จะมีรูปแบบ และชั้นเชิงที่แตกต่างกันออกไปตามยศถา บรรดาศักดิ์ สำหรับพระโกศที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูง แบ่งออกเป็น ๓ พระโกศด้วยกัน คือ พระโกศลอง เป็นพระโกศที่บรรจุพระศพ ซึ่งจะทำมาจากเงินเคลือบด้วยทองคำ พระโกศที่ ๒ คือ พระโกศทองใหญ่ พระโกศชั้นนอกที่เอาไว้หุ้มพระโกศลอง ทำขึ้นจากไม้ปิดทอง ประดับกระจกและอัญมณี และสุดท้าย คือ พระโกศจันทน์ สร้างจากไม้จันทน์ เพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ไม้จันทน์หอม ที่ใช้เป็นไม้จันทน์หอมจากอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผืนป่าที่มี ไม้จันทน์หอมขึ้นเองตามธรรมชาติ มากกว่า ๔๐,๐๐๐ ต้น และยืนต้นตายกว่า  ๑๐,๐๐๐ ต้น ซึ่งต้นจันทน์หอมที่ยืนต้นตายจะมีสารที่เรียกว่า Mansonia gagei และแก่นไม้จันทน์ เมื่อโดนไฟ จะยิ่งทำให้มีกลิ่นหอม จากคุณสมบัติเด่นนี้เองทำให้คนในสมัยโบราณนำแก่นไม้จันทน์มาทำเป็นโลงศพ และเชื้อเพลิงในการเผาศพ เพราะจะช่วยดับกลิ่นศพได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แก่นไม้จันทน์ ยังถูกหั่นเป็นท่อนเล็กๆ ผูกติดกับดอกไม้ ธูป เทียน สำหรับให้คนที่มาร่วมงานได้นำไปเคารพศพ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในเผาศพอีกด้วย  งานราชพิธีในครั้งนี้ฯ ต้องใช้ไม้จันทน์หอมจำนวน ๙ ต้น จาก ๑๙ ต้น  โดยทางสำนักช่างสิบหมู่ ต้องทำการแปรรูป เป็นแผ่น ๑,๓๑๕ แผ่น เป็นไม้ท่อนจำนวน ๔๕ ท่อน เพื่อใช้ในการทำพระโกศช่อดอกไม้จันทน์ ฟืนไม้จันทน์ และยอดพระจิตกาธานบนพระเมรุ การสร้างพระโกศไม้จันทน์หอม ต้องอาศัยช่างหลากหลายประเภท ได้แก่ ช่างโลหะ เพื่อดำเนินการ จัดสร้างโครงโลหะ ช่างไม้ประณีตในการแปรรูปไม้จันทน์หอมเป็นลวดลายต่าง ช่างโกรกฉลุ โกรกและฉลุลายตามแบบ ช่างประดับลายนำดอกลายที่สำเร็วแล้วมาประดับกับโครงพระโกศ ช่างลงรักปิดทอง ในการทำลายฟืน ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความละเอียดรอบครอบประณีตและพิถีพิถันส่วนลวดลายที่ใช้ประดับพระโกศจันทน์นี้ ประกอบด้วย ลายหน้ากระดาน ลายท้องไม้ ลายบัวค่ำบัวหงาย  ลายดอกไม้ไหว ประดับด้วยความสวยงามและแสดงฐานันดรศักดิ์ เช่น ลายกระจังเกี้ยว ลายดอกไม้ทิศ รวมลายที่ปรากฏอยู่บนพระหีบ และพระโกศมากถึง ๔๖ แบบ และเมื่อรวมชิ้นไม้ ที่ฉลุเป็นลวดลายต่างๆของพระหีบ และพระโกศไม้จันทน์แล้วก็มาก ๔๐,๐๐๐  ชิ้น วิจิตรงดงามเต็มพระอิสริยยศ แสดงถึงฐานานุศักดิ์แห่งพระศพที่สถิตอยู่ภายในพระโกศ ซึ่งประดิษฐาน อยู่บนพระเมรุ อันเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ ตามคติความเชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า และเหล่าทวยเทพ
ติดตามเรื่องราวของพระโกศไม้จันทน์ได้ในกบนอกกะลา พฤหัสบดีที่ ๒๑ กันยายน เวลา ๒๑.๔๕ น. ทางช่อง 9 MCOT HD
 
ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่
http://tvburabha.com/
https://www.facebook.com/tvburabha
https://instagram.com/tvburabha
https://www.facebook.com/kobnokkala

ตัวอย่างรายการ

คลิปที่ดูล่าสุด